Logo
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บี.เค. ศูนย์เครื่องเขียน
B.K. Stationery Center Limited Partnership
  • 10
  • 2,472,098

ทฤษฎี excitation transfer

03/08/2560 14:20 793

 

 


ทฤษฎี Excitation Transfer


เวลาเดทกันแล้วพาไปดูหนัง ในทางจิตวิทยาเรามีเคล็ดลับมาบอกครับว่า
ให้ชวนเขาไปดูหนังประเภทสยองขวัญ
หรือหนังเรื่องอะไรก็ได้ที่มีเนื้อหาแนวน่าตื่นเต้น ทำให้หัวใจเต้นแรงๆ

อันนี้มีที่มาจากทฤษฎี excitation transfer หรือแปลเป็นไทยว่า
"การถ่ายโอนความเร้าใจ"
อธิบายคือ ณ ขณะที่เรารับชมหนังสุดแสนระทึก น่าตื่นเต้นอยู่นั้นเอง
ในหัวของคุณ สมองมันกำลังทำงาน
โดยภายในมีการผลิตสารเคมีที่ส่งผ่านกันจนเกิดการหลั่งฮอร์โมน
ที่ทำให้เกิดอารมณ์-ความรู้สึกต่อเรื่องนั้นๆ
และตอนนั้นเองสมองมันจะแอบเชื่อมโยงกันว่า ที่หัวใจเราเต้นเร็ว
"จริงๆแล้ว มันเป็นเพราะเหตุการณ์ในหนัง
หรือเพราะคนที่นั่งอยู่ข้างๆ กันแน่" ... นี่แหละ ทฤษฎีถ่ายโอนความเร้าใจ

.

แหม แต่ฟังดูแล้วมันเสี่ยวๆ ตลกๆ นะครับ
สมองของเราจะมาโยงกันมั่วสะเปะสะปะได้อย่างไร แต่นี่คือเรื่องจริง!
นักจิตวิทยาเขาได้สังเกตและทดลองมาแล้วมากมาย และ hack บทสรุปมาไว้ให้แล้ว
นี่เป็นจุดที่ physiological recaction
(ปฏิกิริยาทางชีวภาพ ได้แก่ ใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ขนลุก เป็นต้น)

อาการที่แสดงออกเหล่านี้มันไปเกิดการปะติดปะต่อกันกับ psychological (ทางจิตใจ)
ซึ่งเป็นเรื่องของสมองที่เกิดกระบวนการ perception และ cognition ต่างๆ
ทั้งนี้ ไม่จำกัดเฉพาะการดูหนังผีเท่านั้น แต่ยังรวมไปพาแฟนไปเล่นเครื่องเล่นน่าตื่นเต้น
หรือน่าหวาดเสียวอย่างไวกิ้ง เฮอริเคน ด้วยกัน ก็ทำให้ความรักหวานซึ้งได้เช่นกันครับ

.

ป.ล. ถ้าหากท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ขอแนะนำให้อ่านได้จากหนังสือ Quirkology ของ Richard Wiseman จะมีตัวอย่างกระบวนการที่ชัดเจน เขาได้อธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการหลั่งสารเคมีอะดรีนาลีน ซึ่งมันไป link เข้ากับความรักความอบอุ่นของมนุษย์อีกคนได้จากการทำกิจกรรมที่ทำให้หัวใจเต้นแรง



 

 

 

(ขอขอบคุณ  credit : http://moggyhead.blogspot.com/ )

เอกสารที่แนบ